วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ
1.การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย
การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ด การตรวจใบทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่างๆเป็นวิธีการเก็บข้อมูลเช่นกัน
การตรวจสอบข้อมูล มีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไขการตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูล 2คนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าคอมพิวเตอร์ แล้วเปรียบเทียบกัน
2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีการแบ่งหมวดสินค้าและบริการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา
การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการห้องสมุดตามลำดับตัวอักษรการจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ทำให้ค้นหาได้ง่าย
การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
การคำนวน ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วน ข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้
3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย
การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูลเพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
การค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไป การค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงาน ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา
การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลัง จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนา หรือนำไปใช้อีกครั้งได้โดยง่าย
การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
ปัจจุบันผู้บริหารต้องสามารถปฏิบัติงานให้รวดเร็วขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการแข็งขันตลอดจนการผลักดันของสังคมที่มีการใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์มาวิเคราะห์ แยกแยะ และจัดสรรข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจ
แนวทางการดำเนินการให้ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะเริ่มจากการวิเคราะห์ความต้องการ การวิเคราะห์นี้จะได้จากการสอบถามความต้องการ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าควรจะจัดโครงสร้างข้อมูลนั้นไว้ในระบบหรือไม่ ถ้าจัดเก็บจะประกอบด้วยข้อมูลอะไร มีรายละเอียดอะไร ตอบสนองการใช้งานได้อย่างไร คำถามที่ใช้ในการสำรวจอาจประกอบด้วย
ข้อมูลอะไรบ้างที่มีใช้อยู่ในขณะนี้ เช่น แบบฟอร์ม รายงานฯลฯ ดูโครงสร้างเอกสาร ตลอดจนการไหลเวียนของเอกสาร
ข้อมูลอะไรที่จะจัดทำขึ้นได้ในขณะนี้ ซึ่งได้แก่ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว หรือสามารถจัดเก็บได้
ข้อมูลอะไรที่ควรจะมีใช้เพิ่ม เพื่อให้ได้ระบบ และเป็นคำตอบที่จะตอบสนองผู้ใช้ในระดับต่างๆได้
ข้อมูลอะไรที่หน่วยงานขององค์การต้องการ โดยดูจากคำถามที่หน่วยงานต่างๆได้
ข้อมูลมีความถี่ของการใช้และมีปริมาณเท่าไร ควรมีการตรวจสอบ
รูปแบบของการประมวลผล ควรมีการประมวลผลอะไร ให้ได้ผลลัพธ์อย่างไร การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลที่มีจำนวนมากและต้องเก็บให้ทันเวลา เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน1.2 การตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบมีหลายวิธีเช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบข้อมูล
2.การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ 2.1 การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่เก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจนเช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน แฟ้มลงทะเบียน แฟ้มระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มข้อมูลแล้ว ควรจัดเรียงข้อมูลตามลำดับตัวเลข หรือตัวอักษร เพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่าย ประหยัดเวลา เช่นรายชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์
2.3 การสรุปผล ข้อมูลที่จัดเก็บ จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละระดับชั้น2.4 การคำนวณ ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขสามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพท์ได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจกข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย
ใครรับผิดชอบข้อมูล ข้อมูลบางตัวจำเป็นต้องมีผู้ดูแล
การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

สาระสนเทศ คือ กระบวนการการจัดเก็บข้อมูลกระทำให้เป็นสาระสนเทศ การจัดเก็บและนำเสนอสาระสนเทศ
แนวทางจัดทำสาระสนเทศ
1. เก็บรวบรวมข้อมูล
2. การตรวจสอบข้อมูล
3. ประมวลผลข้อมูล
4. การจัดเก็บข้อมูล
5. วิเคราะห์ข้อมูล
6. การนำไปใช้

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
1. เตรียมข้อมูล เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.1 การลงรหัส
1.2 ตรวจสอบข้อมูล
1.3 การแยกประเภท
1.4 บันทึกข้อมูล
2. การประมวลผล
2.1 การคำนวณ ไก่การบวก ลบ คูณ หาร เปรียบเทียบ
2.2การรวบรวมข้อมูลเป็นชุดเดียวกัน
2.3การเรียงลำดับ

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่

ดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่
ชื่อดอกไม้
ดอกทุ้งฟ้า
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวิทยาศาสตร์
Alstonia macrophylla Wall.
วงศ์
APOCYNACEAE
ชื่ออื่น
ทุ้งฟ้าไก่, ตีนเทียน, พวมพร้าว
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีขาวอมเทา มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีขาว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ออกดอกระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
เป็นไม้ที่ต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำได้ดีในภาคไต้
รองเท้านารีเหลืองกระบี่ ดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่- ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Paphiopedilum eexul (Ridl.) Rolfe- สกุลย่อย : Paphiopedilum- หมู่ Paphiopedilum - จำนวนโครโมโซม 2n = 26- ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์แถบชายฝั่งตะวันออก และตะวันตกทางภาคใต้ของไทย เช่น จังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 50 เมตร- ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดินหรือตามซอกผาหิน ต้น มีพุ่มใบขนาด 30 - 35 เซนติเมตร
- ใบ รูปแถบ กว้าง 3 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 30 - 35 เซนติเมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน ไม่มีลาย- ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกสีเขียว ยาว 13 - 15 เซนติเมตร และมีขน สั้นสีม่วงแดงปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด 6 - 6.5 เซนติเมตร กลีบเป็นมันงุ้มด้านหน้า กลีบนอกบนมีสีขาว กึ่งกลางมีสีเหลืองอมเขียวและแต้มสีน้ำตาลเข้ม กลีบนอกล่างขนาดใกล้เคียงกับกลีบนอกบน แต่มีสีเขียว กลีบดอกสีเหลืองอมน้ำตาล กึ่งกลางกลีบมีเส้นสีน้ำตาลเรื่อ โคนกลีบมีแต้มและขนยาวสีสีน้ำตาลเข้มปกคลุม กระเป๋าสีเหลืองอมน้ำตาล โล่สีเหลือง รูปทรงคล้ายรูปหัวใจกลับหรือไข่กลับ ผิวขรุขระ กึ่งกลางมีติ่งเล็ก ๆ สีเหลืองเข้ม ด้านบนหยักเป็นร่อง ด้านล่างหยักเป็นเขี้ยว- ฤดูออกดอก เดือนมีนาคม - เดือนมิถุนายน - ลักษณะนิสัย ชอบความชื้นสูง และแสงค่อนข้างมาก เมื่อต้นสมบูรณ์จะให้ดอกและแตกหน่อได้ดี


"กล้วยไม้รองเท้านารี" หรือ Lady's Slipper นั้น มีอยู่ทั่วโลก 4 สกุล 125 ชนิด ประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ พื้นเมือง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย สกุล Paphiopedilum ปัจจุบันที่ค้นพบแล้วมีทั้งหมด 17 ชนิด ดังนี้
1. รองเท้านารีคางกบคอแดง
2. รองเท้านารีม่วงสงขลา หรือรองเท้านารีคางกบภาคใต้
3. รองเท้านารีฝาหอย
4. รองเท้านารีคางกบ หรือรองเท้านารีไทยแลนด์
5. รองเท้านารีดอยตุง
6. รองเท้านารีเหลืองปราจีน หรือรองเท้านารีเหลืองกาญจน์หรือรองเท้านารีเหลืองอุดร
7. รองเท้านารีเหลืองกระบี่
8. รองเท้านารีขาวชุมพร
9. รองเท้านารีเหลืองตรัง หรือรองเท้านารีเหลืองพังงา
10. รองเท้านารีเหลืองเลย
11. รองเท้านารีอินซิกเน่
12. รองเท้านารีขาวสตูล
13. รองเท้านารีเมืองกาญจน์ หรือรองเท้านารีเชียงดาว
14. รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือรองเท้านารีสุขะกุล
15. รองเท้านารีอินทนนท์
16. รองเท้านารีช่องอ่างทอง


รูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังมีภูเขา และทะเล

กระบี่ไขว้ หมายถึง อาวุธ หรือดาบโบราณ ซึ่งมีผู้ค้นพบ ในท้องที่จังหวัด จำนวน 2 เล่ม
ภูเขา หมายถึง เขาพนมเบญจา ซึ่งเป็นภูเขาสูงสุดของกระบี่ซับซ้อนกันถึง 5 ยอด
จึงเรียกว่า พนมเบญจา มีเมฆปกคลุมตลอดเวลาและกั้นเขตแดนกับจังหวัดอื่น

“ทุ้งฟ้า” ต้นไม้ และดอกไม้ ประจำจังหวัดกระบี่



คำขวัญประจำจังหวัดกระบี่

กระบี่ เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก


คำขวัญการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่

แหล่งถ่านหิน ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย
รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย
ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน สวรรค์เกาะพีพี
วิสัยทัศน์จังหวัดกระบี่

“ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล เชิงอนุรักษ์และสุขภาพ แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของคุณภาพชีวิตและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ”
ประวัติจังหวัดกระบี่
กระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่า บริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ กล่าวกันว่าดินแดนนี้แต่เดิม คือ เมืองบันไทยสมอ 1 ใน 12 เมืองนักษัตร ที่ใช้ตราลิงเป็นตราประจำเมือง ขึ้นกับอาณาจักรนครศรีธรรมราช
จังหวัดกระบี่ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในอดีตเป็นเพียงแขวงหนึ่งอยู่ในอำนาจการปกครอง และบังคับบัญชาของเมืองนครศรีธรรมราช เรียกว่า “แขวงเมือง ปกาสัย” พระยาผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ให้พระปลัดเมืองฯ มาตั้งค่ายทำพะเนียดจับช้าง ในท้องที่ของตำบลปกาสัย และได้มีราษฎรจากเมืองนครศรีธรรมราช อพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินเพิ่มมากขึ้น พระปลัดเมืองฯ ได้ยกตำบลปกาสัยขึ้นเป็น “แขวงเมืองปกาสัย” ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช
ประมาณปี พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัย และพระราชทานนามว่า “เมืองกระบี่” เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่ (บ้านตลาดเก่า) ในท้องที่อำเภอเมืองกระบี่ปัจจุบัน มีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองกระบี่คนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2418 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองกระบี่ออกจากการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อ กรุงเทพฯ และในปี พ.ศ. 2443 สมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้พิจารณา เห็นว่า ศาลากลางที่บ้านตลาดเก่านั้น ไม่สะดวกต่อการคมนาคม เพราะสมัยนั้นต้องอาศัยเรือ เป็นพาหนะ จึงได้ย้ายที่ตั้งเมืองไปอยู่ตำบลปากน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้ปากอ่าวเป็นร่องน้ำลึก เรือใหญ่สามารถเข้าเทียบท่าได้สะดวก ทำให้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจนถึงปัจจุบัน
ความหมายของคำว่า “กระบี่” มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่าชาวบ้านได้ขุดพบมีดโบราณใหญ่เล่มหนึ่ง นำมามอบให้กับเจ้าเมืองกระบี่ และต่อมาไม่นานก็ขุดพบมีดดาบโบราณเล่มหนึ่ง รูปร่างคล้ายกับมีดดาบโบราณเล่มใหญ่ จึงนำมามอบให้กับเจ้าเมืองกระบี่เช่นกัน เจ้าเมืองกระบี่เห็นว่าเป็นดาบโบราณ สมควรเก็บไว้เป็นดาบคู่บ้านคู่เมืองเพื่อเป็นสิริมงคล แต่ขณะนั้นยังสร้างเมืองไม่เสร็จ จึงได้นำดาบไปเก็บไว้ในถ้ำเขาขนาบน้ำหน้าเมืองโดยวางดาบหรือกระบี่ไขว้กัน ซึ่งลักษณะการวางดาบ หรือกระบี่ไขว้ เป็นสัญลักษณ์ของตราประจำจังหวัด คือ รูปดาบไขว้ เบื้องหลังมีภูเขาและทะเล โดยบ้านที่ขุดพบดาบใหญ่ได้ตั้งชื่อว่า “บ้านกระบี่ใหญ่” บ้านที่ขุดพบดาบเล็กได้ตั้งชื่อว่า “บ้านกระบี่น้อย” แต่มีอีกตำนานหนึ่ง สันนิษฐานว่า คำว่า “กระบี่” อาจเรียกชื่อตามพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่มีมากในท้องถิ่น คือ ต้น “หลุมพี” จึงเรียกชื่อท้องถิ่นว่า “บ้านหลุมพี” ต่อมามีชาวมลายู และชาวจีนที่เข้ามาค้าขายได้เรียกเพี้ยนเป็น “บ้านกะ-ลู-บี” หรือ “คอโลบี” นานๆ เข้าก็ได้ปรับเป็นสำเนียงไทยว่า “กระบี่”
ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ ติดกับทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 814 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,708.512 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,942,820 ไร่

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดพังงาและ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทางด้าน อำเภอปลายพระยา และ อำเภอ เขาพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดตรัง และทะเลอันดามัน
ทางด้านอำเภอเกาะลันตา อำเภอเมืองกระบี่และ
อำเภอเหนือคลอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง
ทางด้าน อำเภอเขาพนม อำเภอคลองท่อม และอำเภอลำทับ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดพังงา และทะเลอันดามัน
ทางด้าน อำเภออ่าวลึก และ อำเภอเมืองกระบี่